ข่าวสังคม » วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต ร่วมกับ BDI จัดแข่งขันปัญญาประดิษฐ์ทางการเกษตร “Durian Hackathon 2025”

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต ร่วมกับ BDI จัดแข่งขันปัญญาประดิษฐ์ทางการเกษตร “Durian Hackathon 2025”

15 กุมภาพันธ์ 2025
339   0

ในระหว่างวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องประชุมเจ้าฟ้า ชั้น 5 อาคาร 7 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดี ม.อ.ภูเก็ต เป็นประธานเปิดการแข่งขัน “Durian Hackathon 2025” ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ และดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม รองผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมธุรกิจและองค์ความรู้ กล่าวเกี่ยวกับสนับสนุนโครงการฯ จากสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนกล่าวต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขัน

การแข่งขันครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Computer Vision สำหรับการเกษตร โดยเฉพาะในกลุ่ม Smart Farmer และ Young Smart Farmer ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีศักยภาพในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม เทคโนโลยี AI และ Computer Vision สามารถช่วยพัฒนา การตรวจจับและแยกแยะวัตถุในภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ และการคาดการณ์โรคพืช นอกจากนี้ยังช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทำเกษตรเชิงอุตสาหกรรม

กิจกรรมการแข่งขัน Durian Hackathon 2025 ครอบคลุมทั้งการอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงการแข่งขัน Hackathon ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองใช้เทคโนโลยีจริงภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 86 คน จาก 11 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 21 ทีม ประกอบด้วย ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี AI และการประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม มีทั้งนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ เกษตรกร  หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรให้สามารถแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการนำ AI มาต่อยอดในการบริหารจัดการภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รองศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การจัดแข่งขันในครั้งนี้ เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมทางการเกษตร แต่ด้วยเรื่องของการเกษตรจะค่อนข้างกว้าง จึงดึงผลผลิตหรืออุตสาหกรรมการเกษตรที่น่าสนใจ คือ ทุเรียน  เป็นโจทย์ให้กับนักพัฒนาซอฟแวร์ที่มีความสามารถ รวมถึงเยาวชนที่ต้องการฝึกฝนประสบการณ์ เพราะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับทั้งมืออาชีพและผู้ที่พึ่งเริ่มต้นได้มีการเรียนรู้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างเครื่องมือไปใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมทุเรียน โจทย์ คือ การพยากรณ์หรือการทำนายการเกิดโรคเกี่ยวกับทุเรียน

ด้าน ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม  รองผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กล่าวว่า หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นปีที่ 2 แต่เป็นครั้งแรกที่มีการจัดทำโครงการ Data Hackathon ด้วยเป็นสถาบันที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการใช้เดต้า สาเหตุที่เริ่มต้นจากเรื่องของการเกษตรเนื่องจากประเทศเป็นผู้นำในเรื่องของเกษตรกร ประกอบกับเรามีโครงการสมาร์มฟาร์มเมอร์มาเป็นเวลาค่อนข้างนาน เมื่อมีเครื่องมือและอุปกรณ์แล้ว ขั้นต่อไป คือการแนะนำให้นำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงทำให้เหิกการแข่งขันในครั้งนี้ โดยเป็นการผสมผสานนำองค์ความรู้ส่วนตัวทมาใช้อย่างเป็นระบบ ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีทันสมัยขึ้น ซึ่งในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมหลากหลาย

error: Content is protected !!