ข่าวสังคม » ศวอบ.สำรวจแนวปะการังโดยวิธี Line intercept transect

ศวอบ.สำรวจแนวปะการังโดยวิธี Line intercept transect

16 พฤษภาคม 2025
65   0

ระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤษภาคม 2568 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้สำรวจแนวปะการังโดยวิธี Line intercept transect บริเวณเกาะตะเภาใหญ่ เกาะนาคาใหญ่ บ้านแหลมขาด และอ่าวตั้งเข็ม จังหวัดภูเก็ต จากการสำรวจที่ระดับความลึกน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร

พบว่าแนวปะการังมีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง ปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังวงแหวน (Dipsastraea spp.) ปะการังสมองร่องสั้น (Platygyra spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora spp.) และปะการังกาแล็กซี่ (Galaxea fascicularis) พบปะการังตายจากการฟอกขาวในปี 2567 ประมาณ 25%

การลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังวงแหวน (Dipsastraea spp.) ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังกาแล็กซี่ (Galaxea fascicularis) อุณหภูมิน้ำทะเลวัดได้ 30 องศาเซลเซียส

สิ่งมีชีวิตที่พบส่วนใหญ่ในแนวปะการัง เช่น ปลาสลิดหิน ปลากระดี่ทะเล ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง ปลาอมไข่ เม่นดำหนามยาว ดาวขนนก ปูหิน และหอยมือเสือ ขยะในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากกิจกรรมการทำประมง เช่น เชือก สายเส้นเอ็นตกปลา และเศษอวน

error: Content is protected !!